top of page
  • Writer's pictureAdmin.

Glory to Our Great Kings

Updated: Jul 21, 2019

The first Thai piano sonata composed in 1994. The sonata comprises of four movements.


- Moderato -- เพ็ญพิรุณ

- Scherzo (Vivace - Andate - Vivace) -- บุญประชา

- Adagio -- ผาสุขสันติ

- Allegro ma non troppo -- ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา

โซนาต้าถวายชัยคีตมหาราชา (Glory to Our Great Kings)

เป็นบทเพลงสำหรับเปียโนเดี่ยว โดยประพันธ์ขึ้นจากทำนองหลักที่สำคัญ ของบทเพลงพระราชนิพนธ์ของพระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งมีบทเพลงพระราชนิพนธ์ด้วยกัน สี่ องค์ เป็นบทเพลงพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 หนึ่ง องค์ คือ บุหลันลอยเลื่อน เป็นบทเพลงพระราชนิพนธ์ของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 สาม องค์ คือ คลื่นกระทบฝั่ง ราตรีประดับดาว และเขมรละออองค์ และเป็นทำนอง เพลงพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาธรรมิกราช โดยอัญเชิญบทเพลงพระราชนิพนธ์ 6 บท คือ สายฝน ใกล้รุ้ง ค่ำแล้ว แสงเดือน ยูงทอง และมหาจุฬาลงกรณ์


Nat Yontararak uses four melodies composed by past monarchs of the Chakri Dynasty as his main themes. These melodies are บุหลันลอยเลื่อน (Floating Moon) by H.M. King Rama II; คลื่นกระทบฝั่ง (Breaking waves), ราตรีประดับดาว (Starry Night) and เขมรละออองค์ (Khamen La-or Ong) by H.M. King Rama VII. In addition, six popular songs -- สายฝน (Falling Rain), ใกล้รุ่ง (Near Dawn), แสงเดือน (Magic Beam), ค่ำแล้ว (Lullaby), ยูงทอง (Golden Peacock), มหาจุฬาลงกรณ์ (Maha Chulalongkorn) -- by H.M. King Rama IX are used to link the first four tunes together using Western harmony with Thai overtones.



1. Moderato -- เพ็ญพิรุณ

"เพ็ญพิรุณ" มีลักษณะสง่างามอยู่ในคีตลักษณ์แบบโซนาต้า โดยใช้ทำนองบุหลันลอยเลื่อนเป็นทำนองแรกและสายฝนเป็นทำนองที่ 2 ทำนองแรกนั้นมีช่วงจบอยู่ในบันไดเสียงแบบ Dorian mode ซึ่งแปลกและสะดุดหู จึงใช้เป็นทำนองนำและจบของกระบวนด้วยกระบวนนี้ จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน


ส่วนแรก (Exposition) เริ่มด้วยทำนอง บุหลันลอยเลื่อน แล้วมีช่วงต่อนำเข้าสายฝน โดยมีลักษณะล้อเสียงของเม็ดฝนเป็นเสียงสูง แล้วสายฝนประโยคแรกจะเข้ามาด้วยเสียงต่ำก่อน แล้วจึงสรุปลงด้วยเสียงฝนพราว ก่อนจะเข้าส่วนกลาง (development) ซึ่งใช้ทำนองแรกมาแปรในลักษณะต่างๆ มีอยู่ช่วงหนึ่งที่เอ่ยถึงเพลงมหาจุฬาลงกรณ์ ซึ่งจะกลับมาเป็นทำนองสำคัญที่สุดในกระบวนสุดท้าย ส่วนนี้จะจบลงด้วยสายฝนที่มีเสียงประสานที่บีบเค้นเหมือนเมฆดำทมึน แล้วจึงเข้าสู่ส่วนสุดท้าย (Recapitulation) ซึ่งย้อนทำนองแรกและสองในกุญแจเสียง จี เมเจอร์ ผันทำนองสายฝนให้มีเสียงประสานที่เข้มข้นขึ้น แล้วจึงสรุปลงด้วยประโยคแรกของบุหลันลอยเลื่อน นำเข้าสู่จุดสุดยอดของกระบวนอย่างสง่างาม


The first movement is of noble and graceful character. The two main subjects are from บุหลันลอยเลื่อน (Floating Moon) and สายฝน (Falling Rain). The first subject ends in a Dorian mode, which is quite unusual to the ears. It reappears again at the very end of the movement. The exposition begins with 'Floating Moon' followed by a bridge passage imitating the sound of the falling rain which subtly introduces his audience to the tune of 'Falling Rain', the song by H.M. King Rama IX. The development section sees the first subject in various transformations and, at times, foreshadowing the up coming 'Maha Chulalongkorn' tune -- an important theme of the last movement. This section ends with 'Falling Rain' shrouded in dissonance. In the recapitulation, both subjects return in G Major, a richly harmonized 'Falling Rain' is followed by the return of 'Floating Moon', leading to a festive climax of the movement.


2. Scherzo (Vivace - Andate - Vivace) -- บุญประชา

บทเพลงท่อนนี้ มีลีลาสนุกโดยมีทำนอง ใกล้รุ่งและคลื่นกระทบฝั่งผสานกันไปเหมือนเกลียวเชือก ที่มีสีสันสดใส ท่อนกลางจะเป็นทำนองค่ำแล้ว เต็มทำนองแล้วจึงย้อนต้นอีกครั้ง (คีตลักษณ์แบบ Ternary ABA) จบลงด้วย Coda ที่ไล่เสียงอย่างว่องไว และจบลงอย่างน่ารัก มจ. จักรพันธุ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ ได้เคยรับสั่งว่า อาจกล่าวได้ว่าเพลงค่ำแล้วนั้น เป็นเพลงกล่อมเด็กที่ไพเราะที่สุดในโลก ผู้ประพันธ์จึงนำทำนองนี้มาใช้เป็นทำนองเดียวในเพลงถวายชัยคีตมหาราชา ที่คงรูปเดิมอย่างสมบูรณ์


The second movement opens brightly with a brilliant combination of two melodies, 'Near Dawn' and 'Breaking Waves'. In the middle section, the complete melody of 'Lullaby' is heard, followed by a 'Da Capo' to complete the ternary form (A-B-A). The movement endswith a fast but sweet coda. IT has been said that 'Lullaby' is one of the most beautiful lullabies ever written and thus it is the only melody that is heard in its entity complete and unaltered, in this Sonata.


3. Adagio -- ผาสุขสันติ

บทนำของท่อนนี้ชวนให้นึกถึงภาพของแสงเดือนวันเพ็ญที่สะท้อนบนผิวน้ำที่เกือบจะนิ่ง ทำนองแสงเดือนจะเข้ามาอย่างแช่มช้าประดุจดวงเดือนลอยมาโดยมีทำนองเอื้อนเอ่ยของราตรีประดับดาว กระจายระยิบอยู่บนเสียงสูง บรรยากาศของกระบวนนี้ ให้ความสงัดของยามราตรี มีความรู้สึกหวาน และลึกซึ้งจับใจ ซึ่งให้ความสมหวังในที่สุด


The introduction to the third movement alludes to the image of the moon and stars reflecting in still water. The melody of 'Magic Beam' enters slowly as the rising moon, accompanied by the fluid melody of 'Starry Night' shimmering in the upper register of the piano. The stillness and ecstasy of the night is perfectly evoked., portrayed by the quiet profound beauty of this movement.



4. Allegro ma non troppo -- ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา

บทเพลงท่อนสุดท้ายนี้ ใช้ทำนองเขมรละออองค์ เป็นทำนองหลักของคีตลักษณ์ ‘’รอนโด’’ มีทำนองมหาจุฬาลงกรณ์เป็นท่อนแยกครั้งที่ 1 ตามด้วยทำนองหลักในกุญแจเสียง เอ แฟล็ต เมเจอร์ แล้วจึงเข้าท่อนแยกครั้งที่ 2 ด้วยทำนองเพลงพระราชนิพนธ์ยูงทอง แล้วกลับเข้าทำนองหลักในกุญแจเสียงเดิม คือ เอฟ เมเจอร์ แล้วจึงตามด้วยบทสรุปซึ่งนำเอาเพลงพระราชนิพนธ์ยูงทองและมหาจุฬาลงกรณ์ มาประชันกันเพลงจบลงอย่างองอาจมีชัย และมีความผาสุข


บรรยากาศของกระบวนนี้จะร่าเริง มีความพิสดารพอควรในด้านเทคนิค มีเสียงบางตอนที่ล้อเสียงฆ้องวง บทเพลงพระราชนิพนธ์มหาจุฬาลงกรณ์ เป็นบทเดียวของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ประพันธ์ขึ้นจากทำนองโน้ต 5 ตัว ทำนองท่อนแยกครั้งที่ 1 นั้น นำมาจากการแปลงเป็นโน้ตเพลงไทยโดยคุณครูเทวาประสิทธิ พาทยโกศล ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำขึ้นบรรเลงถวายโดยวงปี่พาทย์ในปี พ.ศ.2497 ซึ่งเป็นปีเกิดของผู้ประพันธ์ รวมเวลา 40 ปีมาแล้ว


The last movement is a rondo which opens with the melody of 'Khamen La-or Ong', followed by 'Maha Chulalongkorn', and then returns to the first section in a higher key of A Major. The next section introduces the melody of 'Golden Peacock' before returning to the first section it its original key of F Major. The movement is rounded off with a coda of 'Golden Peacock' and 'Maha Chulalongkorn' playing against one another, leading to a triumphant and joyous conclusion. The overall mood of the movement is lively, using unusual pianistic techniques that sometimes imitate the sounds of the Thai gamelan.


Copied from 'Glory to Our Great Kings' 1994 programme book.

Written by Nat Yontararak

Translated by Kampanat Atichatpong

87 views0 comments

Recent Posts

See All
bottom of page