top of page
Writer's pictureAdmin.

The Prodigal Son Suite (MUSIC)

Updated: Jul 30, 2019

บทประพันธ์ “บุตรน้อยหลงหาย” สำหรับเปียโน และเครื่องเคาะ และนาฎลีลาลิเกประยุกต์

About the composition (English below)


บทประพันธ์นี้ มีลักษณะเป็นเพลงชุด (Suite) เล่าเรื่องจากคำอุปมาของพระเยซู ในพระคริตสธรรมคัมภีร์ลูกา 15: 11 - 31 แบ่งออกเป็น 4 ท่อน โดยใช้เปียโนเป็นทำนองเดินเรื่อง มีตะโพน และเครื่องเคาะอื่นๆ เป็นส่วนประกอบสำคัญที่สร้างอารมณ์ให้เข้ากับท้องเรื่อง โดยมีผู้รำทรงเครื่องลิเก แสดงอารมณ์ และท่าทางตามเนื้อเรื่อง แต่ไม่ร้อง ให้ดนตรีจากเปียโนเป็นผู้ร้องแทน


ท่อนที่ 1 “ชีวิตเป็นเช่นนี้”

ขึ้นต้นด้วยเพลง “วา” ซึ่งเป็นเพลงโหมโรงช่วงสุดท้ายก่อนม่านเปิด ตามด้วยเพลงออกแขก ซึ่งเป็นเพลงประเพณีของลิเกที่ใช้เป็นเพลงนำ ทำนองเพลงวากลับมาอีกครั้ง เปิดโรงตัวพ่อกับพี่สาว ซึ่งชื่นชมในความสุขของครอบครัว ตามด้วยเพลงกระต่ายเต้น เปิดตัวบุตรน้อย ที่มีทำนองสนุกสนาน แล้วจึงถึงช่วงกลางที่ บุตรน้อยขอแบ่งสมบัติจากพ่อ โดยได้รับการทัดทานจากพี่สาว จึงมีการขัดเคืองใจอย่างมาก แต่บุตรน้อยกลับลิงโลดใจว่าตนได้สมบัติตามที่ใจปรารถนา ท่อนนี้จบลงด้วยความกระหยิ่มยิ้มย่องของบุตรน้อยถึงชัยชนะของตนเอง


ท่อนที่ 2 “ความจริงที่ปรากฏ”

ขึ้นต้นด้วยนางโสเภณีกำลังเชยชมความงามของตนเอง และกำลังนึกฝันว่าจะไปปอกลอกสมบัติจากชายหนุ่มที่พร้อมให้ถูกหลอก โดยมีทำนองแปรหวานๆ ของเพลงลอยกระทงนำมา แล้วจึงเข้าเพลงสนุกจากทำนองกินนรีร่อน แล้วจึงเป็นการปรากฏตัวของบุตรน้อย หลังจากนั้นจะเป็นการเกี้ยวพาราสี ระหว่างนางโสเภณีกับบุตรน้อย โดยนางพาสมัครพรรคพวกเข้ามาร่วมด้วย ในที่สุดบุตรน้อยก็ถูกปอกหลอกจนหมดตัว ท่อนนี้จบลงอย่างเศร้าสร้อย ทำให้บุตรน้อยเข้าใจความจริงของชีวิตอย่างถึงแก่น


ท่อนที่ 3 “เศร้าสลดกลับใจ”

เริ่มต้นด้วยบุตรน้อย ต้องตกระกำลำบาก ในบ้านเมืองต่างถิ่น ไม่มีใครเหลียวแล นำโดยทำนองเพลงแขกปัตตานีในช่วงต้น และช่วงกลางมีเพลงธรณีกันแสงแสดงถึงความเศร้าโศกของบุตรน้อย ที่ตกต่ำอย่างที่สุดต้องมาเลี้ยงหมู ท่อนนี้จบลงด้วยความหวังที่บุตรน้อยคิดว่าจะกลับไปหาพ่อ


ท่อนที่ 4 “ให้อภัยได้ลูกคืน”

ท่อนสุดท้าย เริ่มต้นด้วยการเดินทางกลับบ้านด้วยทำนองท้ายของเพลงด้อมค่าย เมื่อถึงบ้านได้พบกับพ่อ เป็นทำนองพระเจ้าลอยถาดสองชั้น เมื่อพ่อได้ยกโทษให้บุตรน้อย จึงมีงานเลี้ยงรื่นเริงโดยใช้ทำนอง พระเจ้าลอยถาดชั้นเดียว เมื่อพี่สาวทราบเรื่องจึงเสียใจ น้อยใจ และโมโห ที่คิดว่าพ่อรักตัวไม่เท่าน้อง จึงเกิดการทะเลาะต่อว่าน้องอย่างรุนแรง ในที่สุด เมื่อบุตรน้อยขอโทษพี่สาวแล้วจึงมีการคืนดี และให้อภัย และความสงบสุขก็กลับมาในบ้านอีกครั้ง ด้วยทำนองโยคีถวายไฟ ก่อนที่ดนตรีจะจบลงอย่างมีความสุข


** หมายเหตุ เนื้อเรื่องจากที่พระเยซูเล่าในอุปมาเปลี่ยนจากพี่ชายเป็นพี่สาว เนื่องด้วยความจำกัด

ของทีมผู้แสดงในการเดินทาง


-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

This composition is inspired by "The Prodigal Son" parable from the Bible (Luke 15:11 - 31). It is divided into four parts -- Life, Truth, Repentance, Forgiveness -- using the piano as the story teller accompanied by "Tapon" and other percussion instruments, which will enhance the dramatic aspect of this piece. The Likay dancers will interpret the story without any singing, giving space for the piano and percussion to sing fully to the audience.


1. LIFE

This piece begins with a Likay tradition with an overture called "Wa", followed by "Pleng-ork-kaek" or an introductory song to Likay. "Wa" overture will return again soon after to introduce the characters of father and daughter -- the older sister. These two are contemplating the beauty and happiness of their family together. Then, the prodigal son is introduced with his own theme song from "Kra-tai-ten" (the dancing rabbit). It's a very playful piece of music.


His entrance is a cheerful sight to the scene until he starts asking his father for his share of inheritance. His sister openly opposed the idea but the father listened to the prodigal son and let him have what he wanted. The scene then ends with the prodigal son dancing and jumping with joy of this new found wealth in his hands.


2. TRUTH

This scene begins with a prostitute admiring her own beauty. She is imagining how she can lure a rich man into willingly giving her diamonds and jewelry. The melody of "Loy-krathong" is the main theme of this movement. This song tells of "Loy-krathong" festival that is celebrated every year for the good grace of the goddess of water that blesses Thailand. Though it is meant to be for the goddess of water, many young couples take this opportunity to have their own Thai version of "Valentine's day".


Therefore, the sweet melody of "Loy-krathong" slowly evolves to a festive "Kinnaree-ron". The prodigal son arrives and seen mingling with the courtesan. By this time, the lady is bringing more friends to join the party, making the prodigal son spend more and more of his fortune on his pleasure until it was all gone.


This piece ends with such painful call for reality for the prodigal son. After all the fortune is gone, he now sees the truth of life.


3. REPENTANCE

The scene begins with the prodigal son trying to work through his poor destiny in a faraway land with no one to care for him. A melody of "Kaek-pattani" pierced through this sorrowful atmosphere, followed by "Thorani-kan-saeng" or tears from the earth. The latter song reflects the sadness and regret in the prodigal son's heart. From a rich man's son, he is now feeding and eating with pigs in a farm in the middle of nowhere. This scene ends with the prodigal son thinking that he should return to his father.


4. FORGIVENESS

The scene starts with the prodigal son's travel back home, accompanied by melody from "Dom-kai". When he reaches home, the melody changes to "Prachao-loytaad-song-chan". When the father forgives him, the lavishing welcome party is thrown together and the melody changes to "Prachao-loytaad-chan-diew". However, when the sister found out, she was furious and thought that the father didn't love her as much as her brother. So, she marched into the party and argued with her brother. It was only until the prodigal son apologized to his sister that he was forgiven. The harmony in the family is then restored with the melody of "Yokee-tawai-fai".


**NB: We changed the character from the brother to sister for the convenience of our team members.


117 views0 comments

Recent Posts

See All

Comments


bottom of page