top of page
Writer's pictureAdmin.

Siam Sonata

Updated: Jul 21, 2019

Nat Yontararak's 3rd Sonata (2002). The Sonata takes its audience on a tour around Thailand through music with its four movements representing four regions of Thailand.


- The Central Region (Maestoso)

- The Northeast (Allegretto Scherzando)

- The North (Larghetto)

- The South (Allegro Tempestoso)

"สยาม" โซนาต้า ประพันธ์ถวายเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดชฯ สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร มหาราช เนื่องในวโรกาสพระชนมายุ 75 พรรษา พ.ศ.2545


"สยาม" โซนาต้า นำเสนอเอกลักษณ์ของประเทศไทย 4 ภาค ผ่านเสียงดนตรีการเดี่ยวเปียโน โดยแบ่งออกเป็น 4 กระบวน เริ่มด้วยภาคกลาง ตามด้วยภาคอีสาน ภาคเหนือ และจบด้วยภาคใต้ ขนบธรรมเนียมประเพณี และภาษาของแต่ละภาค ล้วนบ่งบอกถึงจิตวิญญาณชาวไทย ซึ่งในความต่างนั้นรวมกันได้เป็นชาติเดียว ความรักสามัคคีกลมเกลียวของคนในชาติ ย่อมจะทำให้ชาติเจริญ ประชาชนจึงจะมีความอยู่ดี กินดี และมีความผาสุก บทเพลงนี้หวังให้ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของตัวแทนความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวของความรักมาตุภูมิ ซึ่งขอถวายเป็นเครื่องสักการะแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ผู้เป็นองค์พระประมุข และเป็นดั่งดวงใจของพสกนิกรทุกคน


Siam Sonata, a composition dedicated to H.M. King Rama IX on the occasion of his 75th birthday.


Siam Sonata combines the unique identity of each of the four regions of Thailand in a solo piano sonata. The composition is divided into four movements, beginning with Central, Northeastern, Nothern Region, and ending with Southern Region. The diverse culture of the Thais of each region is explored through this music.


The Central Region (Maestoso)

ภาคกลาง (Maestoso) อยู่ในรูปแบบของโซนาต้า ประกอบด้วยทำนองหลัก 2 ทำนอง ทำนองแรกนำมาจากพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิจ จากเพลง “แขกมอญบางขุนพรหม เถา’’ ปัจจุบันวังบางขุนพรหมของพระองค์ท่านฯ คือที่ตั้งของธนาคารแห่งประเทศไทยอันเป็นศูนย์รวมของเศรษฐกิจของชาติ และในปีนี้ธนาคารฯ ฉลองวาระการใช้ธนบัตรไทย ครบ 100 ปี และ 60 ปี ของการก่อตั้งธนาคารฯ ด้วย ส่วนทำนองที่สองคือเพลง ‘’เกี่ยวข้าว’’ ซึ่งเป็นเพลงพื้นบ้านของภาคกลางที่มีทำนองสดใส และอ่อนโยน ข้าวนั้นเป็นอาหารหลักที่เลี้ยงชีวิต ทำให้ข้าวนั้นอยู่ในเลือดของชาวไทยทุกคน ที่สำคัญภาคกลางเป็นที่ตั้งของเมืองหลวง ซึ่งในปีนี้กรุงรัตนโกสินทร์ ครบ 220 ปีพอดี กรุงเทพมหานครนั้นแสดงออกได้ดีที่สุดถึงลักษณะชาวไทยในปัจจุบัน ดนตรีผสมผสานระหว่างสำเนียงของดนตรีชาววัง และดนตรีชาวบ้านเป็นหนึ่งเดียวกันได้อย่างกลมกลืน


Written in a Sonata form, this movement consists of two main melodic tunes. The first one is taken from "Kaek Mon Beng Khunprom Tao" by His Royal Highness Prince Krom Phra Nakorn Sawan Worapinit. Today the late Prince's Wang Bang Khunprom or Bang Khunprom Palace is the seat of Bank of Thailand, the heart of Thai economy. This year, the bank celebrates the 100th anniversary of the Thai bank note and the 60th anniversary of its establishment. The second tune is based on the song "Kiew Kao" (Harvesting Rice), a gentle and lively folk song that represents the central region's most important agricultural activity. Rice is the staple food of Thai people. It is in our blood and this region has produced so much rice that feeds the whole country and beyond. Thus, this movement perfectly blends Thai court music of the capital together with folk music of the region.


The Northeast (Allegretto Scherzando)

ภาคอีสาน (Allegretto Scherzando) เริ่มต้นด้วยการโห่สามลา และเข้าทำนองเต้ยสามจังหวะ ดนตรีพยายามเลียนเสียงของแคน ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีสำคัญของภาคอีสาน เต้ย สองจังหวะแรกอยู่ในช่วงต้น จังหวะที่สองนั้น บรรเลงด้วยเทคนิคของการล้อเลียน 2 แนว ประชันกันระหว่างมือขวาและมือซ้าย ทำนองเต้ยนี้จะอยู่ในบันไดเสียงไมเนอร์ จึงประพันธ์ท่อนกลางของกระบวน เป็นบันไดเสียงเมเจอร์ แทนอารมณ์ที่อ่อนหวานและจริงใจของชาวอีสาน เต้ย จังหวะที่สาม จะตามเข้ามาในช่วงย้อนตอนจบ ความสนุกของจังหวะชวนให้นึกถึงการเซิ้งของชาวอีสาน และความรื่นเริง รักสนุก อันเป็นลักษณะของคนไทยโดยทั่วไปด้วย


Beginning with "Ho Sam La" (three salutes) and followed by "Toey Sam Changwa" (three rhythmic sections of "Toey Song"), the movement is an imitation of the sound of "Kaen" -- a traditional wind instrument of this region. The first two sections open the movement with the second being an interplay of two independent parts. The left hand challenges the right hand. This middle section is in a major key, which is reminiscent of the gentle and sincere nature of Northeastern people. the third "Toey" section comes in during the last refrain. Its playfulness symbolizing a northeastern dance, as well as the lively and fun nature of Thai people.


The North (Larghetto)

ภาคเหนือ (Larghetto) สร้างบรรยากาศของความสงบ ร่มเย็น เนิบนาบ เสมือนภาษาทางเหนือ อาณาจักรล้านนาอันเก่าแก่ถึง 700 ปีนั้น มีมนต์ขลังของความลึกลับ และความอุดมสมบูรณ์ของพนาไพร ทำนอง ‘’เงี้ยวรำลึก’’ หรือ ‘’มงแซะ แซะมง ตะลุ่ม ตุ้มโมง’’ นั้น เป็นทำนองที่แทนลักษณะดังกล่าวได้เป็นอย่างดี ดนตรีไทยทั่วไปนั้นจะอยู่ในจังหวะ 2 ในกระบวนนี้ ทำนองเอกถูกแปรเป็นจังหวะ 3 โดยจะอยู่ในท่อนหัว และท้าย ส่วนท่อนกลางจึงจะเป็นตัวทำนองจริงในจังหวะ 2 ซึ่งมีช่วงจังหวะกระชับกว่า ชวนให้คิดถึงลีลาของการฟ้อนอันอ่อนช้อย และเสน่ห์ของชาวเหนือด้วย


The composition now moves into an atmosphere of serenity, gracefulness and calm, like the Northern dialect. The 700-year Lanna Kingdom has inherited a mysterious charm and lush forests of the past. The tune "Ngiew Ramluek" or "Mongsae Saemong Talum Tummong" is a perfect symbol of this nature. Traditiona; Thai music usually takes on a two-beat meter, but this tune, in the main section at the beginning and the end, has been transformed into the three-beat meter. The middle section remains in the original rhythmic form, which is more concise, reminiscent of the graceful dance and charm of the Northerners.


The South (Allegro Tempestoso)

ภาคใต้ (Allegro tempestoso) อยู่ในรูปแบบของรอนโด (Rondo) คือมีทำนองหลักเป็น ‘’กราวตลุง’’ ซึ่งจะกลับมาซ้ำอีก 2 ครั้ง ทำนองที่สอดแทรกระหว่างกราวตลุง อีก 2 ทำนอง คือ เพลงกรีดยาง หรือที่รู้จักกันในชื่อ มองเลยะ และ เพลงปาเต๊ะ บรรยากาศที่รวดเร็ว และเข้มข้น มีน้ำเสียงที่รุนแรง สะท้อนถึงภาษาทางใต้ และการรำ ซึ่งมักจะมีเสียงกลองเป็นหลัก สร้างพลังของดนตรีให้มีแรงขับเคลื่อนตั้งแต่ต้นจนจบ สร้างความรู้สึกระทึกใจได้ ในช่วงจบพลังเสียงประสานที่เข้มข้น จะย้อนกลับมาจากกระบวนที่ 1 สรุปลงด้วยจังหวะ maestoso ที่สง่างาม และจบด้วยการไล่ทำนองกราวตลุงที่เฉียบขาด


Written in the Rondo form, this movement takes its main tune from "Krao Talung" which is repeated three times. The two other tunes inserted in the main tune are "Kreed Tang" (tapping the rubber tree), also known as "Mongleya" and "Pateh". Energetic and upbeat, this movement reflects the intense nature of the Southern dialect and dance, with the drums as the lead instruments and driving force from the synchronized sounds and rhythms. The final section of the movement brings back the intense harmony from the first movement ending with a grand maestoso and rousing theme of "Krao Talung" to its final climax.


Copied from "Siam Sonata" programme book (2002)



134 views0 comments

Recent Posts

See All

Comments


bottom of page